ยืมเงินคนอื่น ให้คนอื่นยืมเงินต้องรู้ สัญญายืมเงินตามกฏหมายใหม่

สัญญายืมเงินส่วนบุคคล

Last Updated on July 18, 2022 by GeLending.com

เมื่อคุณต้องเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดการกู้ยืมเงินกันระหว่างบุคคล ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานะผู้กู้ หรือผู้ให้กู้ก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับสัญญากู้ยืม คือสิ่งที่ควรรู้และศึกษาไว้เพื่อไม่ให้พลาด โดนโกงและเอารัดเอาเปรียบได้

หากใครยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องสัญญา หรือกฎหมายการกู้ยืมเงิน อย่าเพิ่งกังวลไปครับ บอกเลยว่าไม่ได้ซับซ้อนเกินความเข้าใจ วันนี้ GeLending รวบรวมข้อมูลเบสิกที่ควรรู้มาให้ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ กฎหมายการกู้ยืมเงิน สิ่งจำเป็นที่ควรมีในสัญญากู้ยืม และข้อควรระวังในการทำสัญญาเงินกู้ มาอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลย

สารบัญ

กฎหมายการกู้ยืมเงินเบื้องต้น

สัญญากู้ยืมเงิน คือสัญญาที่ “ผู้กู้ยืม” ไปขอกู้ยืมเงินจากบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้ให้กู้ยืม” โดยผู้กู้ยืมสัญญาว่าจะใช้เงินคืนให้ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งในการกู้ยืมเงินนี้จะมีการกำหนดดอกเบี้ยในการกู้ยืมหรือไม่มีก็ได้ และสัญญากู้ยืมเงินจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้มีการส่งมอบเงินที่กู้ยืมกันแล้วเท่านั้น

นอกจากนั้นหลายคนอาจจะรู้กันมาบ้างแล้วว่าการยืมเงินกันมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ต้องทำสัญญากู้ยืม แต่นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรรู้ เช่น ในสัญญานั้นต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้อยู่ในสัญญา หากไม่มีหลักฐาน จะไม่สามารถฟ้องร้องได้ นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม ต้องห้ามเกิน 15% ต่อปี หากเจ้าหนี้เรียกเกินกว่านี้จะถือว่าดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะ และส่วนสำคัญที่ควรรู้นั่นคืออายุความของคดีกู้ยืมเงิน หากเกิดการผิดสัญญาขึ้น คุณสามารถฟ้องร้องกันได้ภายในระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่กำหนดวันชำระเงินคืน แต่ถ้าสัญญากู้ยืมเป็นสัญญาที่มีกำหนดการคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวด คดีที่ฟ้องร้องจะมีอายุความเหลือเพียง 5 ปีเท่านั้น

และหากมีการกู้ยืมเงินผ่านช่องทางออนไลน์ กฎหมายยังอนุญาตให้ใช้ข้อความจากแชท บัญชีผู้ใช้ของผู้กู้ และสลิปการโอน เป็นหลักฐานทางกฎหมายแทนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินได้แล้วด้วย

สิ่งจำเป็นที่ควรมีในสัญญาเงินกู้

สิ่งที่จำเป็นต้องมีในสัญญา

สัญญาเงินกู้ยืมเงินถือเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบตายตัวตามข้อกฎหมาย แต่เบื้องต้นควรประกับด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1. ส่วนนำ

  • ชื่อสัญญา
  • สถานที่ทำสัญญา
  • วันที่ทำสัญญา
  • ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา

2. ส่วนเนื้อหา

  • วัตถุประสงค์ในสัญญา
  • ดอกเบี้ย
  • กำหนดการชำระหนี้
  • ผลของการผิดชำระหนี้

3. ส่วนลงท้าย

  • ข้อความส่วนท้ายของสัญญา
  • ลายมือชื่อของคู่สัญญา
  • พยานในการทำสัญญา

ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป

เขียนที่…………………………………………………….

วันที่…………..เดือน……………………………พ.ศ. 25……….

                ข้าพเจ้า……………………………………………………….ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่าผู้กู้ฝ่ายหนึ่ง อายุ…………………….ปีบ้านเลขที่…………………………..ตำบล / แขวง……………………………………อำเภอ / เขต……………………………… จังหวัด………………………………ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้ไว้แด่……………………………………………………….ดังมีข้อความต่อไปนี้

                ข้อ 1 ผู้กู้ได้ยืมเงินของท่านผู้ให้กู้เป็นจำนวนเงิน………………………………บาท……………………สตางค์(………………………………………………………………………………….) และได้รับเงินนี้ไปเสร็จแล้วแต่วันทำสัญญานี้

                ข้อ 2 ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญานี้เป็นต้นไป และยอมชำระดอกเบี้ยภายใน………………………………………………………………………………………………………………………………..

                ข้อ 3 ผู้กู้ยอมสัญญาว่าจะนำเงินที่กู้นี้มาชำระให้แก่ผู้ให้กู้ภายในวันที่………………………………………..เดือน………………………………………พ.ศ. 25…………………..

                ข้อ 4 เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินนี้ ผู้กู้ได้นำ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

มอบให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อยึดไว้เป็นประกันเงินกู้  และผู้กู้ขอรับรองว่าทรัพย์สินที่ได้นำมามอบเป็นประกันไว้นี้เป็นทรัพย์สินของผู้กู้เอง  และมิได้นำไปประกันหรือมีภาระติดพันในหนี้สินรายอื่นเลย  และขอรับรองว่าในระหว่างที่เอาทรัพย์สินดังกล่าวมามอบให้ยึดเป็นประกันเงินกู้รายนี้แล้ว ผู้กู้จะไม่จำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อให้มีภาระผูกพันธ์แก่ทรัพย์ที่ประกันเงินกู้รายนี้  ถ้าผู้กู้ทำผิดสัญญาข้อนี้ถือว่าผู้กู้หลอกลวงอันเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดิน

                ข้อ 5 ผู้กู้ยอมให้สัญญาว่า ถ้าผู้กู้ประพฤติผิดสัญญากู้นี้แต่ข้อหนึ่งข้อใด  ผู้กู้ยอมให้กู้เรียกร้องต้นเงินกู้คืนทันที่และยอมเสียค่าเสียหายต่าง ๆ ตลอดจนค่าพาหนะที่ต้องเสียไปในการทวงถามและค่าธรรมเสียมในการฟ่องร้องให้แก่ผู้ให้กู้ทั้งสิ้น  หากเป็นเรื่องผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ค้างทบต้นได้ด้วย

                ข้อ 6 คู่สัญญาตกลงกันว่าผู้กู้จะชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินไม่ได้เป็นอันขาด

ลงชื่อ…………………………………………………………..ผู้กู้

ลงชื่อ…………………………………………………………..ผู้ให้กู้

ลงชื่อ…………………………………………………………..พยาน

ลงชื่อ…………………………………………………………..พยาน

ลงชื่อ…………………………………………………….สามี / ภริยาให้ความยินยอม

ข้อควรระวังในการทำสัญญาเงินกู้

ข้อควรระวัง
  • ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด และควรตรวจสอบสัญญาเงินกู้ ทั้งจำนวนเงินที่ระบุในสัญญา รวมถึงจำนวนเงินที่เป็นตัวหนังสือ
  • ควรทำความเข้าใจในเนื้อหาของสัญญาให้ดีก่อนลงลายมือชื่อ
  • สัญญาต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ
  • อย่านำโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงิน
  • ระวังสัญญากู้ยืมเงินที่มีการเว้นช่วงว่าง เว้นวรรค หรือมีช่องไฟระหว่างคำที่ดูผิดปกติ หากพบเจอแนะนำว่ายังไม่ควรลงลายมือชื่อ เพราะช่องว่าเหล่านี้อาจจะสามารถเป็นจุดที่เจ้าหนี้นำไปเติมแต่งข้อความลงไปหลังจากที่เกิดการลงลายมือชื่อไปแล้ว
  • การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน อย่าลืมขอรับใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการรับเงินที่มีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมด้วยทุกครั้ง

ใครที่ตอนนี้กำลังจะมีเกณฑ์จะได้เป็น ผู้กู้ยืม หรือจะได้ ผู้ให้กู้ยืม ก็ลองศึกษาข้อมูลเหล่านี้ไว้นะครับจะได้ไม่พลาด โดนเอารัดเปรียบได้ภายหลัง

การกู้ยืมระหว่างบุคคลเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำสัญญาตกลงกันได้ หรือหากไม่มั่นใจ ในกรณีที่ไม่มีที่พึ่งพาให้กู้ยืม การกู้เงินในระบบ หรือกู้เงินผ่านแอพมือถือที่ถูกกฏหมายก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

You cannot copy content of this page

Copy link
Powered by Social Snap